Why CSR?
พนักงานไม่ทราบบทบาทหน้าที่ที่แท้จริงและชัดเจนของตนเอง งานทับซ้อนกัน บางคนทำงานหนักเกินไป/น้อยเกินไป เนื่องจากทำงานด้วยกันมานานด้วยความเคยชิน และปฎิบัติในสิ่งที่คุ้นเคยมาตลอด
บริษัทที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องอาศัยมืออาชีพในการวางระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามที่ผู้บริหารคาดหวัง
บริษัทที่ต้องวางแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องมีการจัดระบบโครงสร้างองค์กร และบุคลากร
ขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการประเมินผลงาน เพื่อขึ้นเงินเดือนและพิจารณาจ่ายโบนัส ทำให้พนักงานรู้สึกว่า การปรับเงินเดือนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าของกิจการ
บริษัทที่พนักงานลาออกบ่อย เพราะบอกว่าเงินเดือนต่ำ เนื่องจากบริษัทไม่ทราบว่าจะใช้มาตรฐานใด (ไม่มีกระบอกเงินเดือน) เป็นตัวอ้างอิงความเหมาะสมของการจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นๆ
บริษัทที่ต้องการสร้างระบบการทำงานให้มีความเป็นมาตรฐาน มีคู่มือการปฎิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีการเสนอรายงานต่อผู้บริหาร เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การทำงานในแต่ละฝ่ายตลอดเวลา
บริษัทที่มีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียน MD/President ทุกๆ 3 ปี และ MD/President แต่ละคนก็มีลักษณะการบริหารงานที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้พนักงานเสียเวลาปรับวิธีการทำงานและรายงานใหม่อยู่ตลอดเวลา
บริษัทที่มีคนรุ่นเก่า + คนรุ่นใหม่ อย่างชัดเจน มีโครงสร้างเงินเดือนที่ต่างกัน
บริษัทที่มีการควบรวมกิจการ เช่น บริษัท A รวมกับ บริษัท B ซื่ง A, B มีวัฒนธรรมขององค์กรและโครงสร้างของเงินเดือนที่ต่างกัน
บริษัทที่ CEO ไม่ทราบว่าจะลงชื่อ “อนุมัติ” และ “ไม่อนุมัติ” เมื่อมีการขอคน เพิ่มตลอดเวลา ทั้งที่กิจการในอดีตก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จนัก แต่ก็ไม่มีการ “ลดคน”
บริษัทที่ยังไม่มีการประเมินผลงาน (KPI) และ การประเมินสมรรถนะความสามารถ (Competency) ที่ชัดเจนและเป็นระบบ
บริษัทที่ต้องการพัฒนา และจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และศักยภาพในด้านต่างๆ ที่เฉพาะแก่พนักงานทุกตำแหน่ง (เสมือนหลักสูตร การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย)
บริษัทที่มีความเสี่ยงในการสูญเสียบุคลากรที่สำคัญ และยังไม่มีแผนการรองรับปัญหาดังกล่าว
บริษัทที่ต้องการลดขั้นตอนการทำงาน แล้วนำระบบไอทีเข้ามาช่วย เป็นลักษณะของ HR Digitalization
บริษัทที่ต้องการลดขั้นตอนการทำงาน แล้วนำระบบไอทีเข้ามาช่วย เป็นลักษณะของ HR Digitalization
CSR ช่วยท่านได้อย่างไร? หากท่านกำลังพบเจอกรณีเหล่านี้อยู่ CSR Consulting Group เราสามารถช่วยท่านได้
บริษัทกำลังจะเปิดสาขาใหม่ใน 1 ปีข้างหน้า แต่ฝ่ายบุคคลประเมินความพร้อมแล้ว จะต้องใช้เวลาถึง 3 ปี แต่ผู้บริหารต้องการให้มีการขยายสาขาภายใน 1 ปีจากนี้ บริษัทจะต้องทำอย่างไร
บริษัทที่ปรึกษาฯ ส่งมอบงานแล้ว แต่ทางบริษัทลูกค้าไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง ยังคงเก็บไว้บนหิ้งสวยหรู ด้วยความภูมิใจว่า ใช้บริษัทที่ปรึกษาข้ามชาติที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ดำเนินการให้ ฝ่ายบุคคลไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง เนื่องจากมีปัญหาด้านกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากสถานภาพเดิมไปสู่สถานภาพใหม่ บริษัทจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
การหมุนเวียน MD หรือ CEO ที่มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทำให้เกิดปัญหาว่า MD คนใหม่ จะกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากเดิม ในทุกวาระที่มีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการทำงานเสมือนว่าต้องเริ่มต้นจากศูนย์ใหม่ในทุกๆ ครั้ง สถานการณ์เช่นนี้องค์กรควรมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ปัญหาหลักของบริษัท SME ขนาดเล็กส่วนใหญ่คือ ไม่สามารถที่จะรักษาคนเก่ง คนดี ให้อยู่กับบริษัทได้ เมื่อบริษัททำการพัฒนาพนักงานจนเก่งแล้ว ถึงเวลาที่พนักงานจะต้องใช้ความรู้ความสามารถทำประโยชน์ให้บริษัท แต่ผลก็คือพนักงานลาออกไปอยู่บริษัทที่ใหญ่กว่า ทำให้เจ้าของกิจการ จะต้องเริ่มต้นเช่นนี้ใหม่อยู่เรื่อยๆ ทำให้กิจการไม่สามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้
เมื่อบริษัทขยาย และเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ความรู้ ความสามารถ และการปรับตัวของพนักงาน ไม่สามารถตอบความต้องการของธุรกิจได้ หากต้องจ้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์สูง จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงเกินกำลังความสามารถในการจ่าย แต่ลักษณะงานที่ต้องใช้บุคลากรระดับนี้อาจจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ และเป็นครั้งคราวเท่านั้น บริษัทจะมีทางเลือกในการบริหารค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงสถานภาพจากข้าราชการ มาเป็นพนักงานของรัฐ หรือ องค์การมหาชน เกิดความยุ่งยาก ทั้งปัญหา generation gap ระหว่างคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่ ควรมีการจัดการอย่างไร เพื่อให้ประสานความแตกต่างระหว่าง 2 วัฒนธรรม และ 2 โครงสร้างเงินเดือน
5/38-5/39 Baan Klang Muang
Ratchavipa - Monti Carlo, Ladyao
Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand.
Tel: 02 196 2386, Mobile: 061 898 6776
Email: easra@csrgroup.co.th